ฟังรายการสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz.



ครอบครัวข่าวสาร





มาร่วมคุยกันดีกว่า

๕/๕/๕๑

ข่าวน่าสนใจใกล้ตัว

ข้าวแพงวุ่น-คนใส่บาตรมาม่า


เมื่อวันที่ 4 พ.ค. นายอำนาจ บัวศิริ ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เปิดเผยว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศไทย ที่ข้าวอาหารหลักของคนไทยเริ่มมีราคาแพงขึ้น จากการกักตุนข้าวสารของพ่อค้าเพื่อนำไปส่งออกขายในต่างประเทศ ปัญหาเรื่องข้าวจึงกลายเป็นปัญหาทางสังคมที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ด้วยเป็นปัจจัยสินค้าบริโภคที่มีความสำคัญอันขาดมิได้ ณ ปัจจุบัน ข้าวสารมีราคาแพงขึ้น แม้จะดูเป็นตัวเลขที่ไม่สูงนัก แต่ส่งผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจของคนในสังคมอย่างใหญ่หลวง แม้แต่พระภิกษุ-สามเณรตามวัดต่างๆ ในต่างจังหวัดเริ่มได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ข้าวราคาแพง ทั้งนี้ ตนได้สอบถามไปยังพระสังฆาธิการชั้นผู้ใหญ่ในจังหวัดทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่าปัญหาเรื่องข้าวมีราคาแพงส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติศาสนกิจของพระสงฆ์ในเขตปกครองบ้างหรือไม่ ผลปรากฏว่าเท่าที่ลองสอบถามพระคุณเจ้าหลายท่านได้ให้คำตอบกลับมาว่า มีผลกระทบบ้างพอสมควร โดยเฉพาะที่จ.เชียงใหม่ จากการเดินรับบิณฑบาตจากพุทธศาสนิกชนในตอนเช้า ตามปกติในเวลาตักบาตร ญาติโยมจะใส่ข้าวถุงและตามด้วยกับข้าวถุง ของหวาน หรือน้ำขวด แต่ในระยะหลัง พบว่า พฤติกรรมของญาติโยมที่มาใส่บาตรเริ่มเปลี่ยนไป โดยส่วนใหญ่ญาติโยมจะไม่ค่อยใส่ข้าวถุงแล้ว ทั้งข้าวสุกหรือข้าวสารแห้งก็ตาม แต่จะเน้นใส่แต่กับข้าวและอาหารแห้ง จำพวกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น ตรงนี้คงจะเป็นการยืนยันได้ในระดับหนึ่งว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง ส่งผลกระทบไปเป็นระบบลูกโซ่ ไม่เว้นแม้แต่กระทั่งวงการสงฆ์อย่างไรก็ตาม เท่าที่รับทราบจากการหารือกับพระสังฆาธิการในภาคกลาง โดยเฉพาะในเมืองหลวงนั้น พบว่า จากปัญหาเรื่องข้าวนั้นยังไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด ส่วนข้อมูลดังกล่าวที่ได้รับทราบมาจากพระสังฆาธิการชั้นผู้ใหญ่ในจังหวัดทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คงจะต้องนำมาหารือเพื่อเสนอให้ทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ นำเข้าสู่วาระการประชุมมหาเถรสมาคม เพื่อพิจารณารับทราบต่อไป

ทั้งนี้ กรณีปัญหาเรื่องข้าว คงต้องรอตรวจสอบดูในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาอีกครั้ง เนื่องจากในช่วงนั้น จะเป็นเวลาที่มีการทำบุญตักบาตรเป็นจำนวนมาก จะสามารถมองเห็นปัญหาได้ชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้น ได้ประสานไปยังผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด (พศจ.) ทั่วประเทศแล้ว ให้สำรวจด้วยว่าในการจัดประชุมพระสงฆ์ไม่ว่าจะเรื่องใดก็ตาม อาหารที่นำมาถวายพระส่วนใหญ่เป็นอาหารประเภทใดด้านพระธรรมกิตติเมธี โฆษกมหาเถรสมาคม กล่าวถึงปัญหาข้าวสารแพง ว่า เท่าที่สอบถามดูวัดในเขต กทม. ยังไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการใส่บาตรด้วยอาหารแห้ง แต่ยอมรับว่าวัดที่อยู่ตามต่างจังหวัดเริ่มได้รับผลกระทบจากปัญหาข้าวสารและอาหารต่างๆ ที่สูงขึ้นแล้ว ซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของพระสงฆ์ที่มีอายุมากๆ เพราะอาหารจำพวกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และอาหารแห้งจะมีคุณค่าทางอาหารน้อย ทั้งนี้เมื่อเริ่มเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ขึ้นต่อไป ทางคณะสงฆ์คงจะต้องมีการหารือกันว่าจะเกิดผลกระทบต่อพระสงฆ์หรือไม่ มากน้อยเพียงใด ขณะเดียวกันพระสงฆ์ก็จำเป็นที่จะต้องปรับตัวตามสภาพเศรษฐกิจด้วย

ถกสถานีวิทยุเผยแผ่พุทธศาสนา เสนออนุมัติคลื่นให้กับสงฆ์

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นประธานเปิดการประชุมสถานีวิทยุเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ วัดสัมพันธวงศ์ โดยมีพระธรรมกิตติเมธี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ โฆษกมหาเถรสมาคม บรรยายพิเศษ เรื่อง การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามมติมหาเถรสมาคม ว่า การที่มีสถานีวิทยุพระพุทธศาสนานั้น จะสามารถช่วยมหาเถรสมาคม (มส.) ดำเนินงานเรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี รวมทั้งจะสามารถทำให้คนเข้าใจได้ด้วยว่าพระสงฆ์ทำอะไรให้สังคมบ้าง เพราะขณะนี้ มหาเถรสมาคม มีความเป็นห่วงมากว่า จะทำอย่างไรให้คนเข้าใจบทบาทของพระสงฆ์ อย่างไรก็ตาม สถานีวิทยุพระพุทธศาสนานี้มีอยู่แล้วเกือบทุกจังหวัด ดังนั้น จึงอยากให้ทางสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด (พศจ.) เข้าไปช่วยอุปถัมภ์ด้วยนายอำนาจ บัวศิริ ผอ.สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม บรรยายพิเศษ การส่งเสริมกิจกรรมพระพุทธศาสนาจากภาครัฐ ว่า อยากให้สถานีวิทยุนำเสนอเรื่องราวที่เป็นจุดเด่นของพระพุทธศาสนาให้ประชาชนได้รับรู้ เช่น ผลงานของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ที่มีนักเรียนสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ซึ่งจะทำให้คนเห็นว่าการเรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา นอกจากไม่เสียค่าใช้จ่ายแล้ว ยังสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ด้วย และที่สำคัญเมื่อคนเห็นความสำคัญของการส่งบุตรหลานเข้าไปเรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแล้ว ก็จะส่งผลให้สามารถแก้ปัญหาจำนวนพระภิกษุสามเณรที่ลดลงอยู่ในขณะนี้ได้ ขณะเดียวกันต้องพยายามทำให้ชุมชนเห็นความสำคัญของสถานีวิทยุพระพุทธศาสนาด้วย

ด้านพระอธิการไมตรี ฐิตปญฺโญ วัดทางสาย จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในฐานะประธานชมรมสถานีวิทยุเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา กล่าวว่า ชมรมสถานีวิทยุเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เกิดจากการรวมตัวของพระสงฆ์ ที่จัดรายการผ่านสถานีวิทยุของตัวเองโดยจะผ่านทางคลื่นวิทยุชุมชน ซึ่งจะมีพระผู้ใหญ่ในแต่ละจังหวัดดูแลอยู่ ซึ่งขณะนี้มีสมาชิกรวม 135 สถานีทั่วประเทศ แต่ยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐเท่าที่ควร จึงอยากให้ทางรัฐบาลพิจารณาอนุมัติคลื่นวิทยุให้กับพระสงฆ์ เพราะขณะนี้พระยังไม่รู้ว่าจะต้องไปติดต่อหน่วยงานใด และต้องทำอย่างไรบ้าง เพราะหากมีการจัดสรรคลื่นความถี่เมื่อใด จะทำให้คลื่นวิทยุชุมชนที่พระใช้อยู่เป็นสถานีวิทยุที่ผิดกฎหมาย

ขอขอบคุณข่าวดีดีจาก

ไม่มีความคิดเห็น:

ข่าวรณรงค์

ช่วยกันลดมลพิษคนละนิด ลดการใช้โฟมและถุงพลาสติก ปิดเครื่องไฟฟ้าหลังใช้งานทุกครั้ง

ความคิดเห็นล่าสุด