ฟังรายการสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz.



ครอบครัวข่าวสาร





มาร่วมคุยกันดีกว่า

๓๐/๔/๕๑

เตือนหนุ่มใหญ่ กินไข่วันละฟองตายเร็ว

นักวิจัยเตือนบรรดาผู้ชายวัยกลางคนระวังตายเร็ว พบการกินไข่สัปดาห์ละ 7 ฟองหรือมากกว่านั้น ทำให้มีโอกาสเสียชีวิตด้วยสาเหตุใดๆ ถึง 23% แต่สำหรับชายที่เป็นโรคเบาหวานนั้น การกินไข่ไม่ว่ากี่ฟองก็เพิ่มความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตในทุกสาเหตุ

ในระยะหลังมีการถกเถียงกันว่า กินไข่มากน้อยแค่ไหนถือว่าปลอดภัย มีผลวิจัยขัดแย้งกันหลายชิ้นในประเด็นคุณและโทษของการกินไข่ ซึ่งเป็นอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง คือราว 220 มิลลิกรัม ซึ่งอาจทำให้มีคอเลสเตอรอลสูงในเลือด และเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ผู้เชี่ยวชาญหลายรายบอกว่า มีการขยายความเรื่องความเสี่ยงเหล่านี้มากจนเกินจริง เพราะคนที่มีสุขภาพดีแทบทุกรายสามารถกำจัดคอเลสเตอรอลจากอาหารได้เองตามธรรมชาติอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ดร.ลุก จูส และ ดร.เจ. ไมเคิล กาเซียโน แห่งโรงพยาบาลหญิงบริกแฮม และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้วิเคราะห์ผลการศึกษาแพทย์ชายจำนวน 21,327 คน เป็นเวลา 20 ปี และพบว่าปริมาณการกินไข่มีผลต่อการมีสุขภาพดี

คณะนักวิจัยกล่าวในรายงานที่ตีพิมพ์ใน American Journal of Clinical Nutrition ว่า การกินไข่สัปดาห์ละ 6 ฟอง ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคใดๆ แต่การกินไข่สัปดาห์ละ 7 ฟองหรือมากกว่านั้น จะทำให้มีโอกาสเสี่ยชีวิตเพิ่มขึ้น 23% อย่างไรก็ดี ในกลุ่มผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวาน การกินไข่จะเพิ่มโอกาสเสียชีวิตด้วยทุกสาเหตุ และมีแนวโน้มที่จะทำให้เป็นโรคหัวใจและโรคเส้นเลือดสมอง นักวิจัยย้ำว่า ผลการศึกษานี้ไม่ได้หมายถึงประชากรทั่วไป เพราะนักวิจัยไม่รู้ว่าพวกหมอเหล่านั้นกินอะไรเป็นอาหารบ้าง และมีวิธีการปรุงไข่อย่างไร




ตามข้อมูลนั้น ผู้ชายกลุ่มที่กินไข่มากที่สุดมักเป็นพวกที่มีอายุมาก อ้วน ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และขาดการออกกำลังกาย ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่ออาการหัวใจวายและเสียชีวิตต่อผลวิจัยดังกล่าว นักโภชนาการ วิกตอเรีย เทย์เลอร์ แห่งมูลนิธิโรคหัวใจอังกฤษ บอกว่า ข้อจำกัดของการศึกษาชิ้นนี้ก็คือ ไม่มีข้อมูลว่าพวกหมอที่ถูกศึกษานั้นกินอะไรอย่างอื่นอีกบ้าง ฉะนั้น เรายังคงแนะนำว่า คนเราสามารถกินไข่มากเท่าไรก็ได้ไม่จำกัด เรามุ่งรณรงค์ให้ประชาชนลดการบริโภคไขมันอิ่มตัวมากกว่าคอเลสเตอรอลในอาหาร

ขอขอบคุณ

๒๒/๔/๕๑

Earth Day วันคุ้มครองโลก

ความเป็นมา
ปัจจุบันสิ่งแวดล้อมได้รับผลกระทบกระเทือนจะการกระทำของมนุษย์เป็นอย่างมาก นอกจากนั้นก็ยังมีปัญหาสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นปัญหาโลก เช่นปัญหาการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก หรือ "Green House Effect" ปัญหาปริมาณโอโซนในบรรยากาศลดลง หรือปัญหาพลังงานของโลกที่จะต้องหามาทดแทนการใช้น้ำมัน เป็นต้น

ดังนั้น ในวันที่ 22 เมษายน 2513 ประชาชนอเมริกันที่ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม กว่า 20 ล้านคน จึงได้พร้อมใจกันมาชุมนุมเพื่อประท้วงการเพิ่มขึ้นของมลภาวะ และการทำลายทรัพยากรธรรมชาติบนพื้นโลก ผลจากการชุมนุมก่อให้เกิดการออกพระราชบัญญัติแก้ไขมลพิษในอากาศของสหรัฐอเมริกา และมีการจัดตั้งสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้น โดยในประเทศไทยเริ่มจัดให้มีการรณรงค์ขึ้นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2533

วันคุ้มครองโลก หรือ เอิร์ธเดย์ (Earth Day) ตรงกับวันที่ 22 เมษายน ของทุกปี ประกาศโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งองค์กรสหประชาชาติ (United Nations Environment Program "UNEP") เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2543



ในประเทศสหรัฐอเมริกาจัดให้มีกิจกรรมวันคุ้มครองโลกเป็นประจำทุกปี โดยหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรีนพีช

นอกจากวันเอิร์ธเดย์ 22 เมษายนแล้ว ยังมีวันเอิร์ธเดย์ที่ถูกกำหนดขึ้นจากช่วงวิษุวัต หรือ อิกควินอกซ์ (equinox) เช่นกัน วิษุวัตเป็นช่วงที่ในกลางวันและกลางคืนมีระยะเวลาเท่ากัน และเป็นการเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิในซีกโลกเหนือ และฤดูใบไม้ร่วงในซีกโลกใต้ โดยนับจากเหตุการณ์ธรรมชาติที่แกนขั้วโลกจะตั้งได้ฉากกับเส้นศูนย์สูตรมากที่สุด ในช่วงวันที่ 20-21 มีนาคมของทุกปี

วันคุ้มครองโลกนี้ สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐอเมริกา เกย์ลอร์ด เนลสัน (Gaylord Nelson) เป็นผู้ริเริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2505 วุฒิสมาชิกเนลสันได้ตัดสินใจขอให้ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี ยกเรื่องสิ่งแวดล้อมขึ้นเป็นวาระแห่งชาติ เคเนดีเห็นด้วยและได้ออกทัวร์ทั่วประเทศ เป็นเวลา 5 วัน 11 รัฐ ในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2506 (ก่อนที่ประธานาธิบดีเคเนดีจะถูกลอบยิงเสียชีวิต) การทัวร์ครั้งนั้นนับเป็นจุดเริ่มต้นของการริเริ่มวันคุ้มครองโลก จนในปี พ.ศ. 2512 วุฒิสมาชิกเนลสันได้ผลักดันให้มีการจัดการชุมนุมประชาชนระดับรากหญ้าทั่วประเทศขึ้น เพื่อให้แสดงความคิดเห็นในปัญหาสิ่งแวดล้อม และได้เชิญชวนให้ทุก ๆ คนร่วมการชุมนุมเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดกระแสความห่วงใยในวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่ของสังคมอเมริกันในขณะนั้น นำสู่ความสำเร็จของการก่อตั้งวันคุ้มครองโลกขึ้นต่อมา

เป้าหมายของวันคุ้มครองโลก
1. เพื่อลดอัตราการเกิดคาร์บอดไดออกไซด์ที่มีอยู่อย่างหนาแน่นในบรรยากาศ
2.เพื่อกำจัดคลอโรฟลูออโรคาร์บอนซึ่งเป็นตัวทำลายสภาพโอโซนและก่อให้เกิดการสะสมความร้อนให้หมดสิ้นไป
3. เพื่ออนุรักษ์สภาพป่าที่เหลืออยู่ ทั้งที่เป็นป่าเบญจพรรณและป่าดงดิบ
4. เพื่อห้ามการซื้อ-ขายสิ่งมีชีวิตที่อาจทำให้ภาวะการเจริญพันธุ์ลดลงหรือหมดสิ้นไป
5. เพื่อคงสภาพระดับประชากรไว้ให้อยู่ในสภาพที่สมดุลกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่
6. เพื่อสร้างพลังอำนาจจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลกให้ร่วมกันปกป้องบรรยากาศ น้ำ และสภาพอื่นๆ ให้พ้นจากการกระทำที่มิชอบของมนุษย์
7. เพื่อสร้างสำนึกในอันที่จะรักษาโลกไว้ทั้งบุคคล ชุมชนและชาติ


กิจกรรมที่ปฏิบัติในวันคุ้มครองโลก
1. การส่งเสริมการปลูกต้นไม้ทั่วทุกหนทุกแห่ง โดยเฉพาะแถบแอฟริกา เคนยา ไนจีเรีย และนามิเบีย เป็นต้น 2. การอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ที่เหลืออยู่ในเมือง หมู่บ้าน และภูเขา
3. รณรงค์ให้มีการอนุรักษ์ป่าธรรมชาติเพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
4. เน้นการคุมกำเนิดเพื่อให้จำนวนประชากรได้คงอยู่ในระดับคงเดิม
5. ให้การศึกษาแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
6. ร่วมกันรักษาความสะอาดตามถนนหนทาง ชายหาด อุทยาน และสถานที่สาธารณะต่างๆ


ขอขอบคุณ :


โครงการ งานมหกรรม คอนเสิร์ต วันคุ้มครองโลก วันอังคารที่ 22 เมษายน 2551
ณ สนามกลางแจ้ง และ ลานเอนกประสงค์ อุทยานการค้ากาดสวนแก้ว จ.เชียงใหม่

๒๐/๔/๕๑

ชื่นชมหนูน้อยคนซื่อ พบเงินแสนคืนเจ้าของ


เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 19 เมษายน ด.ญ.บุญพร วงศ์ภานุวัฒน์ หรือ "น้องบุญ" อายุ 9 ขวบ อยู่บ้านเลขที่ 99/10 ถนนทรงพล เขตเทศบาลเมืองบ้านโป่ง จ.ราชบุรี นักเรียนชั้น ป.4 ร.ร.อนุบาลสุธีธร อ.เมือง จ.นครปฐม พร้อมด้วยนางจำลักษณ์ จันทร์เปรม อายุ 40 ปี พี่เลี้ยง นำถุงกระดาษสีแดงภายในบรรจุเงินสดจำนวน 140,443 บาท และเอกสารของธนาคารนครหลวงไทย สาขาถนนทรงพล บ้านโป่ง มามอบให้กับ พ.ต.ท.พิศิษย์ ลายลักษณ์ พนักงานสอบสวน สภ.บ้านโป่ง เพื่อให้ติดตามเจ้าของเงินมารับคืน

ด.ญ.บุญพร เปิดเผยว่า ช่วงเช้าไปตลาดกับพี่เลี้ยง เมื่อมาถึงบริเวณข้างธนาคารนครหลวงไทย พบถุงกระดาษตกอยู่ ตรวจสอบดูภายในพบว่ามีเงินสดจำนวนกว่าแสนบาทดังกล่าว จึงรีบมาโรงพักเพื่อนำเงินมามอบให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามเจ้าของมารับ คืน ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจสอบเอกสารหลักฐานในถุง ทราบว่าเจ้าของเงินคือ นางบุญมี เปลี่ยนขำ ประธานสภาเทศบาลตำบลกระจับ จ.ราชบุรี และยังเป็นเจ้าของโรงงานต่อรถบัสขนาดใหญ่ในเขต อ.บ้านโป่ง จึงติดต่อให้มารับเงินคืน เมื่อมาถึงโรงพัก นางบุญมี กล่าวอย่างดีใจว่า เมื่อวานมอบหมาย น.ส.มะนาภรณ์ ศาลา พนักงานการเงินของโรงงานนำเงินจำนวนดังกล่าวมาเข้าบัญชีที่ธนาคาร แต่น.ส.มะนาภรณ์ ทำเงินหล่นหายไปตอนไหนไม่รู้ แล้วนำเรื่องมาเล่าให้ฟัง ตอนแรกตนคิดว่าคงไม่ได้เงินก้อนนี้คืนแล้ว กระทั่งได้รับการติดต่อจากเจ้าหน้าที่ตำรวจว่ามีผู้เก็บเงินที่ทำตกไว้ รู้ดีใจมาก ขอชื่นชม ด.ญ.บุญพร และปลาบปลื้มแทนพ่อแม่ของเด็กที่มีลูกสาวตัวน้อยๆ เป็นคนดีและน่ารักอย่างนี้ ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของเด็กๆ ทุกคน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังขอบอกขอบใจแล้ว นางบุญมี มอบเงินจำนวน 10,000 บาท ให้กับด.ญ.บุญพร เพื่อเป็นรางวัลความดีและใช้เป็นทุนการศึกษาต่อไป โดยมีเจ้าหน้าที่ร่วมกันเป็นพยาน


ขอขอบคุณข่าวจาก


๑๑/๔/๕๑

สู้ร้อน วันสงกรานต์ ระวัง! โรคลมแดด

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

เทศกาลสงกรานต์ทุกครั้ง มักควงคู่มาด้วยดีกรีความร้อนสุดขีด ทะลุ 40 องศาเซลเซียส วิธีพิชิตร้อน หลายคนมุ่งหน้าคลายร้อนด้วยการเล่นน้ำ เดินชายทะเล เที่ยวห้างสรรพสินค้า ออกตระเวนสาดน้ำใส่กัน

แท้จริงแล้ว...ความลับของความร้อนเป็นเช่นใด จะดับร้อนอย่างไรถึงจะดีที่สุด?

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ บอกว่า เมืองไทยขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองร้อน บวกกับสภาวะโลกร้อน ปีนี้...หลายคนยิ่งรู้สึกว่า มันร้อนเหมือนตับจะแตก สาเหตุที่คนเรามีอาการรู้ร้อนรู้หนาว เพราะมนุษย์เป็นสัตว์เลือดอุ่น ไม่ใช่สัตว์เลือดเย็นอย่าง งู จิ้งเหลน กบ คางคก อึ่งอ่าง ร่างกายมนุษย์ต้องปรับอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมอยู่เสมอ ระหว่าง 36.5-37 องศาเซลเซียส...ไม่ว่าอุณหภูมิของอากาศภายนอกจะมากหรือน้อย หากอุณหภูมิร่างกายสูงกว่านี้ เราก็จะรู้สึกร้อนขึ้นมาทันที ที่แน่ๆ ร่างกายจะต้องปรับสมดุล ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

คุณหมอธีระวัฒน์ บอกว่า ร่างกายมนุษย์ไม่ได้มีเพียงตัวรับสัญญาณความร้อน...เย็นเท่านั้น ยังมีตัวรับสัญญาณการขาดน้ำ หรือตัวรับสัญญาณที่บอกระดับความเข้มข้นของเลือด และตัวรับสัญญาณการขาดเกลือแร่

"ตัวรับสัญญาณเหล่านี้ จะส่งสัญญาณไปบอกสมองให้รับรู้ เพื่อกระตุ้นกลไกการปรับอุณหภูมิ ของร่างกายให้ทำงาน" อุณหภูมิร่างกายร้อนเกินไป จะมีการระบายความร้อนออกมา...โดยเส้นเลือดจะขยายตัว เพื่อระบายความร้อนผ่านเหงื่อที่ผุดออกมาเป็นเม็ดเล็กๆ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

นอกจากนี้ ยังอยู่ในรูปของไอเหงื่อ เรามองไม่เห็น แต่อาจมีปริมาณมากถึงวันละ 500-600 ซีซี กลไกนี้จะไม่เกิดขึ้น ถ้าอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าระดับที่เหมาะสม...ขณะที่เรารู้สึกหนาว เส้นเลือดจะหดตัวลงเพื่อไม่ให้สูญเสียความร้อน อีกทั้งยังเกิดอาการการหนาวสั่น เพื่อผลิตความร้อนให้ร่างกาย กลไกการร้อน...หนาว ยังเกี่ยวพันโดยตรงกับระดับน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย คุณหมอธีระวัฒน์ อธิบายต่อไปว่า เมื่ออากาศร้อน ร่างกายขาดน้ำ จากการสูญเสียเหงื่อและไอเหงื่อ จะทำให้ระดับความเข้มข้น ของเลือดและเกลือแร่ในร่างกายเข้มข้นเกินไป "จังหวะนี้ร่างกายต้องปรับตัว ส่งสัญญาณไปที่ไตเพื่อบังคับให้ ปัสสาวะน้อยลง เพื่อรักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ ขณะเดียวกันร่างกายก็จะรู้สึก อยากดื่มน้ำเพื่อชดเชยน้ำที่สูญเสียไป" ที่น่ากังวล...คือ อาการฮีต สโตรก (Heat stroke) คนไทยเรียกกันว่า โรคลมแดด

"โรคลมแดดเป็นภาวะวิกฤติของร่างกาย ที่ไม่สามารถควบคุมความร้อนได้ เนื่องจากอากาศร้อนที่เพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง 5-10 องศาเซลเซียสในระยะเวลาสั้นๆ" ภาวะนี้...จะทำให้สมองรู้สึกชินชากับความร้อนที่ได้รับ จนไม่รู้สึกกระหายน้ำ...ทั้งๆที่สมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกายเสียหาย ส่งผลให้ระดับความดันเลือดตก...เลือดที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบไปเลี้ยงสมอง กล้ามเนื้อ และอวัยวะต่างๆ ไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการไตวาย หากเป็นมากๆ เซลล์กล้ามเนื้อก็จะเริ่มแหลกสลาย มีของเสียตกตะกอนในไตทำให้เกิด ไตวายซ้ำซ้อน และเสียชีวิตในที่สุด “โรคลมแดด จะเห็นเป็นข่าวบ่อยๆ กับชาวบังกลาเทศทำให้มี ผู้เสียชีวิตครั้งละมากๆ”

คุณหมอธีระวัฒน์ บอกว่า ฮีต สโตรก สำหรับคนไทยในร้อนนี้ เป็นเพียงการเตือน ให้ระมัดระวังเท่านั้น เชื่อว่า...อากาศร้อนในประเทศไทยจะไม่พุ่งสูงอย่างรวดเร็ว เหมือนในต่างประเทศ ที่ผ่านมาอุณหภูมิในบ้านเรา มักไต่ระดับทีละเล็กละน้อยครั้งละ 1-2 องศาเซลเซียส เช่น จาก 35 องศาฯ เป็น 36 องศาฯ และจาก 36 องศาฯ เป็น 37 องศาฯ จะไม่เพิ่มขึ้นจาก 35 องศาฯ ทีเดียวไปเป็น 40 องศาฯ "การไต่ระดับสูงขึ้นทีละน้อย...ร่างกายคนไทยจะชิน ปรับสมดุลได้เอง ไม่ต้องกังวล" อย่างไรก็ตาม มีกลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวัง ได้แก่ ทารก เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ คนที่มีความพิการทางสมอง จิตประสาทแปรปรวน เป็นโรคหัวใจ ความดัน คนเหล่านี้ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือปรับตัวเองได้ไม่ดี

อีกข้อที่สำคัญ...ความร้อนของอากาศ ยังขึ้นกับความชื้นในอากาศ ซึ่งป้องกันไม่ให้เหงื่อ ระเหยระบายความร้อนออกไม่ได้ ทำให้ความร้อนจริงที่ร่างกายต้องเผชิญสูงมากขึ้น ยิ่งอยู่กลางแดด และมีลมร้อนจัด...สภาวะแวดล้อมแบบนี้จะอันตรายยิ่งขึ้น ที่ต้องระวัง...ช่วงสงกรานต์ ออกกำลังกายกลางแจ้ง ตีแบดฯตีเทนนิส ก็มีโอกาสเป็นลมแดดได้เช่นกัน


คุณหมอธีระวัฒน์ บอกอีกว่า อันตรายที่เกี่ยวกับแดดและความร้อน แยกระดับความรุนแรงได้ 4 ระดับ...
  • ระดับแรก แดดเผา ผิวบวม แดง ลอก
  • ระดับที่สอง... ตะคริวตามน่อง กล้ามท้อง

  • ระดับที่สาม... เพลียรุนแรง ใกล้จะช็อก ตัวเย็นชืดชื้น ชีพจรเร็วเบา เป็นลม อาเจียน แต่อุณหภูมิร่างกายยังปกติ

  • ระดับที่สี่... ฮีต สโตรก (Heat stroke) ถือเป็นภาวะฉุกเฉินวิกฤติ อุณหภูมิร่างกายอาจสูงถึง 41 องศาเซลเซียส ผิวแห้ง ร้อน ชีพจรเร็ว แรง อาจหมดสติ ถึงขั้นเสียชีวิต

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นคือ หลบแดด ผึ่งลม ประคบเย็น และจิบน้ำ ถ้า อาการหนักมาก การใช้น้ำเย็นอาจทำให้เกิดตะคริวท้อง ให้นอนราบหรือตะแคง หากอาเจียนร่วมด้วย จำไว้ว่า...การดื่มน้ำจะทำให้เกิดอันตรายในระดับ 3 และถ้ามีอาการในระดับ 4 ห้ามให้น้ำดื่มเด็ดขาด เพราะจะเกิดอันตรายรุนแรงได้




สำหรับวิธีคลายร้อน ทำได้หลากหลายวิธี ง่ายที่สุดแต่แสนจะคลาสสิก คือการพัดและการใช้พัดลม เป็นวิธีการเป่าเหงื่อบนผิวหนังให้ระเหยออกไปเร็วขึ้น

วิธีต่อมา...เครื่องปรับอากาศ เป็นอีกเครื่องใช้ประจำบ้าน สำนักงานยอดนิยม คลายร้อนด้วยกลไกง่ายๆ โดยการปรับอุณหภูมิภายนอกให้ใกล้เคียงกับอุณหภูมิที่คนรู้สึกสบาย อยู่ราวๆ 26 องศาเซลเซียส


ถ้าจะดับร้อนแบบประหยัด...ชั่วคราว ผ้าเย็น หรือการนำน้ำเย็นมาลูบเนื้อลูบตัว ก็เป็นการช่วยดึงความร้อน ความไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวออกไปได้แบบหนึ่ง

"การนำความเย็นเข้าไปสัมผัสร่างกายโดยตรง ทำให้อากาศรอบตัวบริเวณที่มีผ้าเย็น หรือน้ำเข้าไปสัมผัสเย็นขึ้น เราก็จะรู้สึกผ่อนคลาย"

ความเชื่อที่ว่า...ไม่ควรกินน้ำ หรือกินของเย็นๆ เวลาอากาศร้อนมากๆ จะทำให้ไม่สบาย "ข้อนี้...ยังไม่มีข้อพิสูจน์
ทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ว่าจะมีผลร้ายเช่นนั้น"


การดื่มน้ำเย็น การรับประทานไอศกรีม ทำได้โดยไม่ต้องกังวล เว้นแต่คนคนนั้น มีอาการผิดปกติของร่างกายอยู่ก่อน แต่ก็เชื่อว่าจะไม่มีผลเสียร้ายแรง หรืออันตรายถึงชีวิต

คุณหมอธีระวัฒน์ แนะนำว่า อาหารที่ควรทานในช่วงอากาศร้อน ควรจะเป็นอาหารธาตุเย็น ผัก ผลไม้ทานให้
เยอะๆ ผัก ผลไม้ที่มีน้ำมากๆ มีผลดีต่อร่างกาย เพราะมีเกลือแร่มาก... ทดแทนส่วนที่สูญเสียไปกับเหงื่อ และปัสสาวะ...ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย

"ผลไม้ต้องห้าม...คือผลไม้ร้อน เช่น ทุเรียน เงาะ ลำไย ทานแล้วอาจทำให้ ไม่สบายตัว ถ้าเป็นเครื่องดื่ม...ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ ของหวานจัด"


ไขปริศนาความร้อน...รู้จักวิธีดับร้อนกันไปแล้ว กับอากาศที่ร้อนระอุ สงกรานต์ปีนี้ ขอให้คนไทยใช้ชีวิตอยู่กับความร้อนได้อย่างมีความสุข


ขอขอบคุณ

๒/๔/๕๑

ดื่มน้ำเท่าไร แบบไหนจึงจะสุขภาพดี ?




ปริมาณน้ำที่ดื่มในแต่ละวันเป็นสิ่งสำคัญ คนดื่มน้ำน้อยเลือดจะข้น ระบบไหลเวียนของเหลวในร่างกายผิดปกติ ผิวพรรณหยาบกร้าน รวมทั้งอาจเกิดการเจ็บป่วยต่างๆ แต่หากดื่มน้ำมากเกินไปก็ใช่ว่าจะเป็นผลดี เพราะไตจะทำงานหนัก ส่งผลให้ปวดศีรษะ อาเจียน กล้ามเนื้อเป็นตะคริว ความดันสูง น้ำหนักมากขึ้น ร่างกายบวมน้ำ รวมถึงอาจส่งผลถึงระบบสืบพันธุ์ แต่ละวันมนุษย์ควรดื่มน้ำปริมาณเท่าไร และดื่มน้ำอะไรถึงจะปลอดภัย เราจะมาถอดรหัสกัน



สูตรคำนวณปริมาณน้ำดื่มที่เหมาะกับคุณ

องค์การอนามัยโลกได้กำหนดสูตรคำนวณปริมาณน้ำดื่มที่เหมาะสมกับน้ำหนักตัวของแต่ละคน ใน แต่ละวันไว้ดังนี้ น้ำหนักตัว (ก.ก.)/2 x 2.2 x30 = … C.C. (1000 C.C. = 1 ลิตร, 1 ลิตร = 5 แก้ว)

สมมติว่ามีน้ำหนักตัว 55 กิโลกรัม 55/2 x 2.2 x 30 = 1815 C.C. 1815 C.C. = 1.8 ลิตร 1.8 ลิตร = 9 แก้ว เมื่อทราบปริมาณน้ำดื่มต่อวันแล้ว จะต้องมีเทคนิคในการดื่มน้ำให้เกิดประโยชน์กับร่างกายมากที่สุดด้วย

เทคนิคง่ายๆ ที่ว่านั้นมีอยู่ 2 ข้อคือ
  • หลังตื่นนอน ก่อนแปรงฟัน ให้ดื่มน้ำทันที 2-5 แก้ว เพื่อช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ควรเป็นน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่น ไม่ใช่น้ำเย็น ที่ต้องดื่มตอนเช้าเพราะเป็นช่วงที่ร่างกายขับสารพิษได้ดีที่สุด
  • ดื่มน้ำแต่น้อยระหว่างรับประทานอาหาร ไม่ควรเกิน 1 แก้ว หลังรับประทานอาหารเสร็จแล้ว 40 นาทีจึงค่อยดื่มน้ำตาม เพื่อให้กระเพาะย่อยอาหารได้เต็มที่ ที่สำคัญไม่ควรดื่มน้ำเย็น เพราะจะไปรบกวนการย่อย

ทุกวันนี้เราดื่มน้ำอะไรอยู่?

น้ำประปาดื่มได้


ปัจจุบัน น้ำประปาของการประปานครหลวงผ่านการผลิตและควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอนตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก จึงดื่มได้อย่างปลอดภัย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบเดินท่อประปาในบ้าน ท่อเหล็กมีอายุใช้งานไม่เกิน 5 ปี ที่ปลอดภัยที่สุดคือท่อพลาสติก เพราะไม่เป็นสนิม การต้มน้ำประปาจะช่วยฆ่าเชื้อโรคในน้ำและลดความกระด้างไปพร้อมกัน ทั้งยังลดกลิ่นคลอรีนได้ด้วย ส่วนน้ำประปาที่ผ่านระบบกรอง ก็ขึ้นอยู่กับตัวกรองที่เลือกใช้ บางบ้านอาจใช้ตัวกรองถ่าน (Activated carbon) และเรซิน (Resin) ซึ่งก็สะอาดเพียงพอใกล้เคียงน้ำบรรจุขวด เว้นแต่ไม่ได้ผ่นขั้นตอนการฆ่าเชื้อด้วยรังสีอัลตร้าไวโอเลตหรือโอโซน

น้ำดื่มบรรจุขวด

The International Bottled Water Association หรือสมาคมน้ำบรรจุขวดนานาชาติ ได้ให้นิยามของน้ำบรรจุขวดไว้ว่า น้ำดื่ม (Drinking Water) น้ำดื่มในบ้านเรานั้นได้มาจากแหล่งน้ำบาดาลและน้ำประปา ผ่านการกรองชั้นถ่านเพื่อดูดกลิ่น ตามด้วยการผ่านสารเรซินเพื่อลดความกระด้าง ขั้นตอนสุดท้ายคือการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่อาจปนเปื้อนในน้ำด้วยการผ่านแสงอุลตร้าไวโอเลตหรือก๊าซโอโซน ที่เราเรียกกันจนคุ้นเคยว่าน้ำUV หรือน้ำโอโซนนั่นเอง



น้ำธรรมชาติ (Natural Water)


คือ น้ำใต้ดิน รวมทั้งน้ำพุ(Spring) น้ำแร่(Mineral) น้ำบ่อ(Well) และน้ำพุที่เจาะขึ้นมาจากแหล่งใต้ดิน (Artesian Well) ไม่นับรวมแหล่งน้ำสาธารณะและน้ำประปา ในการผลิตน้ำธรรมชาติห้ามใช้กระบวนการอื่นใดนอกจากการกรองเศษฝุ่นละอองและการฆ่าเชื้อโรค ด้วยวิธีการผลิตดังกล่าวจึงทำให้น้ำแร่บรรจุขวดมีความใกล้เคียงกับน้ำจากแหล่งกำเนิดมาก และการที่น้ำแร่มีคุณสมบัติแตกต่างกันตามแหล่งน้ำธรรมชาตินี้เอง จึงต้องมีการกำหนดค่าปริมาณเกลือแร่ ซึ่งอาจเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กและสตรีมีครรภ์ที่มีระบบย่อยอาหารไม่ดีเท่าคนทั่วไป เพราะน้ำแร่จะออกฤทธิ์เป็นยาระบาย หากมีปริมาณซัลเฟตมากกว่า 600 มิลลิกรัมต่อลิตร (ยกเว้นแคลเซียมซัลเฟต)


น้ำเพียวริไฟด์ (Purified Water)

เรียกง่ายๆ ว่าน้ำกลั่น เป็นน้ำที่ผลิตด้วยการกลั่น คือต้มน้ำจนเดือดแล้วระเหยกลายเป็นไอ เมื่อไอน้ำกระทบพื้นผิวที่เย็นจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ หรืออีกวิธีคือ การใช้กระแสไฟฟ้าแยกเกลือแร่ (Deionization) ที่ปนอยู่ออก แล้วน้ำไปผ่านขั้นตอนการกรองด้วยวัสดุที่มีรูขนาดเล็ก 0.0006 ไมครอน (1 เมตรเท่ากับ 1 ล้านไมครอน) เมื่อแร่ธาตุต่างๆ ถูกกรองออกหมดจะได้น้ำที่บริสุทธิ์มากจนแทบไม่เหลือความกระด้างอยู่เลย แต่ที่จริงแล้วร่างกายคนเราก็ไม่จำเป็นต้องได้รับน้ำบริสุทธิ์ขนาดนั้น ขวดแบบไหนเหมาะใส่น้ำดื่ม


ขวดที่นิยมใช้บรรจุน้ำดื่มในปัจจุบัน มี 4 ชนิด คือ ขวดแก้วใส ขวดพลาสติกใสและแข็ง (Polystyrene) ขวดพลาสติกเพท (Polyethylene terephthalate, PET) ซึ่งมีลักษณะใสและกรอบ และสุดท้าย ขวดพลาสติกขาวขุ่น (High-density polyethylene, HDPE)

ขวด 3 ชนิดแรกใช้บรรจุน้ำดื่มได้ดีกว่าขวดพลาสติกสีขาวขุ่น เคยมีการทดลองนำน้ำดื่มบรรจุขวดสีขาวขุ่นไปตั้งกลางแดดนานๆ จะมีกลิ่นของพลาสติกปนมากับน้ำ แม้ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค แต่ก็ทำให้คุณภาพของน้ำลดลง ข้อเสียอีกประการหนึ่งคือ ขวดขาวขุ่นไม่เหมาะที่จะนำมารีไซเคิล ต่างจากขวดอีกสามชนิดที่รีไซเคิลง่ายและใช้ได้ทนทานกว่า ส่วนวันหมดอายุของน้ำดื่มบรรจุขวดนั้นคือประมาณ 2 ปี นับจากวันผลิตที่ระบุไว้บนฉลาก

ขอขอบคุณ

ข่าวรณรงค์

ช่วยกันลดมลพิษคนละนิด ลดการใช้โฟมและถุงพลาสติก ปิดเครื่องไฟฟ้าหลังใช้งานทุกครั้ง

ความคิดเห็นล่าสุด