ฟังรายการสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz.



ครอบครัวข่าวสาร





มาร่วมคุยกันดีกว่า

๑๙/๒/๕๑

วิจัยพบยุงลายดื้อยา - หวั่นไข้เลือดออกระบาด

เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ นางสาวละเอียด ประพันธดารา นักวิจัยโครงการ "การดื้อต่อสารเคมีฆ่าแมลงในยุงก้นปล่องและยุงลายพาหะนำเชื้อโรคมาลาเรียและไข้เลือดออก" เปิดเผยว่า จากการวิจัยด้วยการลงพื้นที่ในแถบภาคเหนือเพื่อวิจัยการดื้อยาฆ่าแมลงในยุง โดยการศึกษากลไกการดื้อต่อสารเคมี ดีดีที และกลุ่มไพรีทรอยด์ รวมถึงสารเคมีในกลุ่มเดียวกัน เช่น เพอร์เมธริน เดลต้าเมธริน ซึ่งเป็นสารเคมีกลุ่มที่ใช้มากในประเทศไทย ทั้งแบบพ่นของสาธารณสุขต่างๆ และยาฆ่าแมลงในบ้านเรือน พบว่าขณะนี้ยุงลายส่วนใหญ่ดื้อต่อดีดีที ส่วนสารเคมีอีก 2 กลุ่มเริ่มมีอัตราการดื้อยาสูงขึ้นประมาณร้อยละ 20-30 ถือว่าน่าเป็นห่วง เพราะยุงสามารถแพร่เชื้อได้ยาวนานขึ้น โดยเฉพาะยุงที่มีเชื้อไข้เลือดออก

นางสาวละเอียดกล่าวต่อว่า การดื้อยาในแมลงเป็นพัฒนาการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หากแมลงโดนยาฆ่าแมลงเพียงเล็กน้อยในครั้งแรกจะไม่ตายและสร้างภูมิต้านทานจนกลายเป็นการดื้อยาฆ่าแมลงชนิดนั้น และสามารถถ่ายทอดการดื้อยานี้ให้ลูกหลานที่แพร่พันธุ์ออกไปด้วย ซึ่งการที่คนใช้ยาฆ่าแมลงชนิดแรงขึ้นจะทำให้ยุงและแมลงเกิดการดื้อยามากขึ้นด้วย สาเหตุที่ทำให้เกิดการดื้อยาฆ่าแมลงเพราะการใช้ยาฆ่าแมลงในประเทศไทยไม่มีการควบคุมและใช้ตามใจชอบ โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีการจัดซื้อยาฆ่าแมลงที่จะนำไปฉีดพ่นเอง โดยไม่มีการตรวจสอบมาก่อนว่ายุงจะดื้อยาฆ่าแมลงชนิดดังกล่าวหรือไม่ ทำให้ขณะนี้เมื่อตรวจสอบในหลายพื้นที่จึงพบการดื้อยาฆ่าแมลงแล้ว นอกจากนี้ยังพบว่ายาฆ่าแมลงในบ้านเรือนเป็นชนิดเดียวกันกับที่พบการดื้อยา จึงควรใช้วิธีการกำจัดลูกน้ำก่อนที่จะเป็นตัวด้วยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์เพื่อลดการใช้ยาฆ่าแมลง

ขอขอบคุณ



ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวงจรชีวิตของยุงลาย ++คลิ๊ก++

ไม่มีความคิดเห็น:

ข่าวรณรงค์

ช่วยกันลดมลพิษคนละนิด ลดการใช้โฟมและถุงพลาสติก ปิดเครื่องไฟฟ้าหลังใช้งานทุกครั้ง

ความคิดเห็นล่าสุด