ฟังรายการสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz.



ครอบครัวข่าวสาร





มาร่วมคุยกันดีกว่า

๑/๑๐/๕๑

นมจีน-น้ำผักผลไม้-น้ำสมุนไพร ปนเปื้อนน้ำใบบัวบกร้ายสุด


อย.สั่งอายัดนมผงนำเข้าจากจีนเพิ่มอีก 60 ตัน ส่งตรวจหาสารปนเปื้อน ชี้หากไม่ผ่านต้องส่งกลับต้นทาง-ทำลาย พร้อมเก็บตัวอย่างนม-ผลิตภัณฑ์ผสมนมจากจีน ตรวจ 97 ตัวอย่าง พบปนเปื้อนเมลามีนแค่ 2 ตัวอย่าง รอผลตรวจอีก 63 ตัวอย่าง

ตะลึง "น้ำผักผลไม้-น้ำสมุนไพร" ทั่วกรุงเปื้อนจุลินทรีย์เพียบ "น้ำใบบัวบก" อันตรายสุดเผยในจำนวนนั้นเกิดจากเชื้อโรคที่ติดมากับมือคนตักขาย

เมื่อวันที่ 30 กันยายน นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รมช.สาธารณสุข แถลงว่าขณะนี้ได้ตรวจสอบ ผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบนมผงจากจีน ได้แก่ ขนมปัง แค ร็กเกอร์ (ไส้ครีม) ไอศกรีม เป็นต้น ตั้งแต่วัน ที่ 19 กันยายน จำนวน 97 ตัวอย่าง ผลการตรวจสอบจาก 34 ตัวอย่าง ไม่พบการปน เปื้อนสารเมลามีน 32 ตัวอย่าง ส่วน 2 ตัวอย่างมีการปนเปื้อนเมลามีน ซึ่ง เป็นวัตถุดิบที่นำเข้าจากจีน โดยบริษัทนมยี่ห้อดังแห่งหนึ่ง มีค่าเมลามีน ที่ 0.38 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หรือ 0.38 พีพีเอ็ม และ 0.55 มิลลิกรัมต่อ กิโลกรัม แต่ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย ส่วนอีก 63 ตัวอย่าง กำลังรอผล ตรวจวิเคราะห์

ผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่ได้หนังสือรับรองจากอย.แล้ว ได้แก่ บริษัท ดีทแฮ ล์ม จำกัด มีผลิตภัณฑ์ 2 ชนิด บริษัท มาร์ส ไทยแลนด์ อิงค์ จำกัด มี ผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรอง 7 ชนิด บริษัท ซีโน-แปซิฟิก เทรดดิ้ง (ไทย แลนด์) จำกัด ได้รับการรับรอง 1 ชนิด และบริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรด ดิ้ง จำกัด ได้รับการรับรองไอศกรีม 4 ชนิด

นายวิชาญ เตือนให้ผู้บริโภคเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากและเครื่องหมาย อย.มารับ ประทาน ไม่ควรเสี่ยงซื้อผลิตภัณฑ์ที่ลักลอบนำเข้า เพราะไม่ได้ผ่านการตรวจ สอบจาก อย. อาจมีการปนเปื้อนสารที่เป็นอันตรายได้ ดังนั้น จึงได้ตั้งวอร์ รูมเพื่อติดตามสถานการณ์และแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที และเพื่อสร้างความเข้าใจ ให้แก่ผู้บริโภค อย.ได้นำข้อมูลและคำแนะนำสำหรับผู้บริโภคขึ้นเว็บไซ ต์ www.fda.moph.go.th รวมทั้งรายงานสถานการณ์ความคืบหน้าจากการประชุมวอร์ รูมขึ้นเว็บไซต์ทุกวัน

นพ.ชาตรีบานชื่น เลขาธิการ อย. กล่าวว่า เมื่อวันที่ 29 กันยายน ที่ผ่านมา ได้เรียกประชุมหารือผู้ที่ เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้าม ผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย โดยอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย จะต้องไม่ พบการปนเปื้อนสารเมลามีน และสารในกลุ่มเดียวกัน ได้แก่ กรดไซยานูริก แอมมี ไลน์ แอมมีลีน โดยมีเกณฑ์ในการปฏิบัติเนื่องจากอาจมีการปนเปื้อนตาม ธรรมชาติ จึงกำหนดเกณฑ์ความปลอดภัยอาหารที่มีการปนเปื้อนสารเมลามีนและสารใน กลุ่มเดียวกันไว้ว่า สำหรับนมผงทุกชนิด ต้องไม่เกิน 1 พีพีเอ็ม หรือ 1 ส่วน ใน 1 ล้านส่วน หรือ 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารที่มีนม หรือองค์ประกอบของนมเป็นส่วนประกอบ ต้องไม่เกิน 2.5 พีพี เอ็ม หรือ 2.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

เลขาธิการอย. ชี้ว่า การนำเข้าอาหารเพื่อจำหน่าย จะต้องมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐ ที่รับผิดชอบของประเทศที่เป็นแหล่งผลิต หรือสถาบันเอกชนที่รับรองโดยหน่วย งานของรัฐที่รับรองประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิดแล้ว ที่แสดงให้เห็นว่าไม่มีการ ปนเปื้อนสารเมลามีนและสารในกลุ่มเดียวกันเกินเกณฑ์ความปลอดภัยที่กำหนด ซึ่ง ประกาศฉบับนี้หากผู้ประกอบการรายใดฝ่าฝืนประกาศฉบับนี้ ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่ 6 เดือน-2 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท ทั้งนี้ จะนำเสนอ รม ว.สาธารณสุข เพื่อลงนามในประกาศก่อนลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะมีผล บังคับใช้ในวันถัดจากไป ก่อนประกาศจะมีผลบังคับใช้ จะใช้ พ.ร.บ.อาหาร พ. ศ. 2522 เกี่ยวกับอาหารที่น่าจะเป็นอันตรายเจือปนอยู่ ซึ่งถือว่าเป็นอาหาร ไม่บริสุทธิ์ หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่น บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ภก.สาทิศตรีสัตยาเวทย์ ผอ.กองงานด่านอาหารและยา กล่าวถึงการนำเข้านมจาก ประเทศจีนของบริษัทนมชื่อดัง ว่า อย.ได้อายัดนมนำเข้าจากจีน ซึ่งบริษัทดัง กล่าวนำเข้านมจากจีนเมื่อประมาณ 3 ปีมาแล้ว เดิมมีการนำเข้าจาก นิวซีแลนด์ แต่เนื่องจากสภาพอากาศแห้งแล้ง นมขาดตลาด จึงได้นำเข้าจาก จีน นอกจากนมผงที่อายัดไว้จำนวน 22 ตันเพื่อรอผลการตรวจวิเคราะห์ซ้ำ แล้ว ขณะนี้ยังมีการอายัดนมผงอีกจำนวน 60 ตัน จาก 4 ลอตที่มีการนำเข้าที่ ท่าเรือ หากผลการตรวจวิเคราะห์ออกมามีความปลอดภัยก็สามารถนำนมผงดังกล่าว เข้ามาเป็นวัตถุดิบในการผลิตได้ แต่ถ้าไม่ผ่านมีการปนเปื้อนเมลามีน จะต้อง ส่งกลับไปยังประเทศต้นทางทันที หากไม่ส่งกลับ อย.จะนำไปทำลายต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าระหว่างการแถลงข่าวนพ.ชาตรี ได้สั่งการให้เก็บตัวอย่าง นมผง 60 ตัน ส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้วย เพื่อ เป็นการยืนยันผลการตรวจ

ขณะที่อันตรายจากการบริโภคอาหารปนเปื้อนยังขยายเพิ่มอีกน.ส.ทิพย์ วรรณ ปริญญาศิริ ผู้อำนวยการกองควบคุมอาหาร (อย.) กล่าวว่า จากกระแสความใส่ ใจต่อสุขภาพ ทำให้คนไทยหันมาดื่มน้ำผักผลไม้หรือน้ำสมุนไพรกันมากขึ้น แต่ น้ำผลไม้และน้ำสมุนไพรเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านความร้อนเพียงเล็กน้อย จึงมีความ เสี่ยงต่อการปนเปื้อนจุลินทรีย์ในทุกช่วงการผลิต โดยเฉพาะหลักการผลิตและการ วางจำหน่ายจะมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์มาก เนื่องจากไม่มีกระบวนการฆ่าเชื้อ ดังนั้น อย.จึงได้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปน เปื้อนจุลินทรีย์ในเครื่องดื่มสมุนไพร โดยศึกษาการปนเปื้อนจุลินทรีย์ใน เครื่องดื่มสมุนไพรในภาชนะที่บรรจุปิดสนิทและพร้อมบริโภคที่จำหน่ายใน เขต กทม. 50 เขต

ทั้งนี้น้ำผักผลไม้และน้ำสมุนไพรที่ได้เก็บตัวอย่าง สำรวจ 455 ตัวอย่าง ได้แก่ น้ำใบบัวบก น้ำสำรอง น้ำเฉาก๊วย น้ำบีทูรท น้ำ กระเจี๊ยบ น้ำเสาวรส น้ำเก๊กฮวย และน้ำจับเลี้ยง ทั้งในแบบภาชนะ บรรจุปิดสนิทและตักขาย ผลตรวจวิเคราะห์พบการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์สูงมาก ถึง 316 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 69.45 โดยแบบบรรจุภัณฑ์ปิดสนิท พบปนเปื้อน จุลินทรีย์มากที่สุดในน้ำใบบัวบกที่พบการปนเปื้อนสูงถึงร้อยละ 97.83 รองมา คือน้ำจับเลี้ยงร้อยละ 90 น้ำเสาวรสร้อยละ 87.88 น้ำบีทรูทร้อยละ 84.61 น้ำ เฉาก๊วยร้อยละ 67.35 น้ำสำรองร้อยละ 62.50 น้ำกระเจี๊ยบร้อยละ 55.36 และน้ำ เก๊กฮวยร้อยละ 54.69

ส่วนผลการตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนในน้ำผักผลไม้และน้ำสมุนไพรชนิดตักขายพบ ว่าน้ำสำรองมีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ร้อยละ 100 รองลงมาคือน้ำใบบัว บกร้อยละ 85.71 น้ำเฉาก๊วยร้อยละ 78.51 น้ำเก๊กฮวยร้อยละ 71.05 น้ำ กระเจี๊ยบร้อยละ 50 และน้ำจับเลี้ยงร้อยละ 46.15 ส่วนน้ำเสาวรสจากตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนเลย โดยลักษณะการวางจำหน่ายที่มีใช้ถุงพลาสติกบรรจุน้ำแข็ง มัดปากถุงวางลงในโหลเพื่อรอตักขาย พบการปนเปื้อนถึงร้อยละ 77.41 ขณะที่น้ำ สมุนไพรที่วางจำหน่ายแบบไม่แช่เย็นจะพบการปนเปื้อนเพียงร้อยละ 45.41

นอกจากนี้การปนเปื้อนที่พบดังกล่าว ยังเกิดจากมือของผู้จำหน่ายร้อย ละ 65.22 รองมาเป็นภาชนะและอุปกรณ์ร้อยละ 31.25 สำหรับเชื้อจุลินทรีย์ปน เปื้อนที่พบ ได้แก่ ยีสต์, คอลิฟอร์ม, โมลด์, อีโคไล และสเตปฟิโลคอคคัส ออ เรียส บ่งบอกว่ามีการปนเปื้อนอุจจาระ และอาจก่อให้เกิดภาวะท้องร่วงได้
ทั้ง นี้ผลการสำรวจนี้ ชี้ว่าในการจำหน่ายน้ำผักผลไม้และน้ำสมุนไพร ควรมีการ พัฒนารูปแบบสำหรับการวางจำหน่ายเพื่อให้ผู้บริโภคปลอดภัยจากเชื้อ จุลินทรีย์ โดย อย.จะทำการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง

น.ส.ทิพย์วรรณ กล่าวต่อว่า จากผลการสำรวจดังกล่าว ชี้ชัดว่าผู้จำหน่ายส่วนใหญ่ขาดองค์ความ รู้ ทำให้เกิดการปนเปื้อน ซึ่งการทำน้ำผักผลไม้และเครื่องดื่มสมุนไพรดัง กล่าวส่วนใหญ่เป็นการขายตรงผลิตหน้าร้าน ไม่ต้องขออนุญาต แต่ยังต้องคงใน เรื่องความปลอดภัย โดยการปนเปื้อนที่พบชี้ว่า การผลิตยังขาด สุขลักษณะที่ดี เชื้อเหล่านั้นทำให้อาหารเน่าเสียง่าย และอาจก่อให้เกิด ปัญหาท้องเสีย แต่ไม่ก่อความรุนแรง เชื้อยีสต์ และโมลด์มาจากอากาศทั่ว ไป ส่วนคอลิฟอร์มชี้ว่าไม่ถูกสุขลักษณะ อย่างไรก็ตาม อย.กำลังดำเนินการ แก้ไขปัญหา ในปีหน้าจะมีโครงการพัฒนาการจำหน่ายและผลิตน้ำผักผลไม้และน้ำ สมุนไพร เพื่อให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยจะนำ ร่องในบางพื้นที่ของ กทม. ซึ่งจะมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ พร้อมทั้งจัดทำคู่ มือเพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตาม ส่วนที่พบว่าน้ำใบบัวบกมีการปนเปื้อนมากที่ สุด เนื่องจากเป็นพืชที่อยู่ใต้น้ำ ผู้ผลิตล้างไม่สะอาดเพียงพอจึงเกิดปัญหา

ขอขอบคุณข่าวจาก

ไม่มีความคิดเห็น:

ข่าวรณรงค์

ช่วยกันลดมลพิษคนละนิด ลดการใช้โฟมและถุงพลาสติก ปิดเครื่องไฟฟ้าหลังใช้งานทุกครั้ง

ความคิดเห็นล่าสุด